ตั้งกระทู้ใหม่ กระทู้ทั้งหมด


มาแปลอุภัยพากย์กันเถอะ..
โพสโดย



                                                               อุภัยพากยปริวัตน์ภาคที่ ๑

๑. วิธีเรียงความภาษามคธ ไม่เหมือนเรียงภาษาไทย ใช้กลับกัน เช่นคำไทยว่า สาวก ของพระพุทธเจ้า คำมคธต้องเรียงกลับกันว่า ของพระพุทธเจ้า สาวก ดังนี้
ประโยคเหล่านี้ผู้เรียนจงแปลเป็นไทย

๑. พุทฺธสฺส    สาวโก      อ.  สาวก  ของพระพุทธเจ้า  
อธิบายว่า  สาวโก ในที่นี้ใช้เป็นตัวประธานในประโยคที่มีใจความสั้น ๆ เป็นประโยคลิงคัตถะ เพราะไม่มีกิริยาคุมพากย์ เดิมเป็น สาวก เป็น อ การันต์ ในปุงลิงค์ โดยกำเนิด ประกอบด้วย สิปฐมาวิภัตตินาม ที่ออกสำเนียงอายตนิบาตว่า อ. (อันว่า) ตัวนี้แหละ เป็นตัวประธานฝ่ายเอกวจนะ   (สาวก+สิ  ปฐมา.เอก. แปลง อ กับ สิ เป็น โอ) 

    ส่วน บทบาลีว่า  พุทฺธสฺส  นั้น เป็น ศัพท์เดิมคือ  พุทฺธ  เป็น อ การันต์ สามารถแจกได้ตาม สัพท์ว่า ปุริส (บุรุษ) ได้ทุกหมวดวิภัตตินาม ในที่นี้ ประกอบด้วย ส ฉัฏฐีวิภัตติ เอกวจนะ  มีคำแปลประจำหมวดวา่ แห่ง..ของ..เมื่อ...แต่ในที่นี้ เลือกได้เพียงคำเดียวเท่านั้น ใช้คำว่า แห่ง หรือของพระพุทธเจ้า  คำใดคำหนึ่ง (พุทฺธ+ส ฉฎฺฐี วิภัตติ ฝ่ายเอก. รวมคำแปลข้อที่ ๑ นั้นว่า อ.สาวก  ของพระพุทธเจ้า 


๒. ธมฺเม   ปสาโท     อ. ความเลื่อมใส  ในพระธรรม
อธิบายว่า  ปสาโท  นั้น เป็นตัวประกอบด้วย สิ ปฐมา เอก. เดิมเป็น  ปสาท แจกตาม อ การันต์ คือต้นแบบ ปุริส ดังที่กล่าวเบื้องต้น เป็นลิงค์โดยสมมติ..เท่านั้น ..การจดจำลิงค์ต้องให้แม่นยำ จึงจะเชี่ยวชาญในการแปลบาลี
     ส่วนบทว่า ธมฺเม  นั้น เป็นตัวที่ประกอบด้วยวิภัตติในหมวดสัตตมี คือ สฺมึ  ฝ่ายเอกวจนะ. ในคำแปล หรือคำเชื่อมนั้นมีหลายอย่าง ในที่นี้เลือกเพียงคำแปลเดียวเท่านั้น โดยกำหนดว่า " ในพรธรรม " ถึงแม้จะมีคำแปลมากก็ตามที แต่เมื่อเป็นประโยคแล้ว ก็คงใช้ได้เพียงคำเดียวเท่านั้น เว้นแต่มีหลาย ๆ บทที่มีวิภัตติร่วมกันในแต่ละปรโยค 
๓. สาวกานํ สงฺโฆ  
๔. อาจริยสฺส สิสฺสา 
๕. คาเม อาวาโส   
๖. คาเมสุ ทารกา 
๗. อาจริยมฺหิ คารโว
๘. สงฺฆสฺส วิหาโร
๙. อุปชฺฌายสฺส ปตฺโต 
๑๐. ขตฺติยานํ กุมารา 
๑๑. อคฺคิโน ขนฺโธร 
๑๒. อิสีนํ อสฺสโม 
๑๓. อริมฺหา อุตฺราโส
๑๔. รุกฺขสฺส สุสิเร อหิ    
๑๕. โกฏฺเฐ วีหโย 
๑๖. กริโน ทนฺตา
๑๗. มนฺตนํ สมาคโม  
๑๘. รุกฺเข สิขี
๑๙. ทณฺฑิสฺส หตฺเถ ทณฺโฑ 
๒๐. เสฏฺฐิมฺหิ วิสฺสาโส
๒๑. วเช ปสโว  
๒๒. ปพฺพตสฺส สิขเร เกตุ
๒๓. เสตุมฺหิ รโถ 
๒๔. ครุโน ปุตฺตา
๒๕. กุมารานํ ครโว 
ส ๒๖. วิญฺญูนํ โอวาโท
 

โพสโดย :
IP : 101.51.203.110
โพสเมื่อวันที่ : 18 ธ.ค. 2556,17:50 น.
แสดงความเห็น
ความคิดเห็น :
ชื่อ :
อีเมล :
เบอร์โทร :
กรอกรหัส :